วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

กลิ่นควันธูป กับ คราบน้ำตา



      ในตาของเธอแดงก่ำบวมซ้ำน้ำตาไหลอาบหน้า  พร้อมเสียงสะอึกสะอื้นเหมือนจะขาดลมหายใจ อาการแบบนี้บ่งบอกถึงความเศร้าโศกที่ประมาณไม่ได้ ความเจ็บปวดรวดร้าวนี้บีบคั้นหัวใจของเธอแทบแตกสลาย  ดอกไม้สีขาวพร้อมไฟแสงสีระยิบระยับประดับตกแต่งกล่องสี่เหลี่ยมที่่เรียกว่า หีบศพ เป็นการประดับตกแต่งที่ไม่มีใครอยากทำ และเป็นหีบที่ไม่มีใครอยากได้มาครอบครอง ข้างๆหีบห้อมล้อมด้วยผู้คนมากมาย คนอื่นอาจดูยิ้มแย้มแจ่มใส แต่เธอคนนี้เป็นทุกข์เหมือนถูกศรทิ่มแทงกลางอก เพราะคนที่นอนในหีบนั้น คือ ลูกสาวผู้เป็นดังแก้วตาดวงใจที่มาด่วนจากไปอย่างกะทันหัน

       เธอคลอดเขาออกมาด้วยความรัก เฝ้าฟูมฟักรักษาไม่เคยห่าง เธอรักเขามากกว่าตัวเองเสียอีก เมื่อลูกมาจากไปหัวอกของคนเป็นแม่แทบจะขาดรอน แม้เธอจะร้องไห้จนหมดสิ้นซึ่งน้ำตา วิงวอนจนเหนื่อยล้าก็ไม่มีวันหวนคืน ลูกสาวของเธออายุ ๑๙ ปี พึ่งจบ ม.๖ กำลังจะเข้าเรียนต่อมหาลัยวิทยาลัย ความฝันของเธอคือจะคว้าใบปริญญามาให้พ่อแม่ให้ได้ เธอเป็นคนขยันและมารยาทดีจึงเป็นที่รักของเหล่าญาติมิตร ชีวิตของเธอกำลังไปได้สวย เหมือนดอกไม้ที่กำลังจะเบ่งบานอย่างสวยงาม แต่มัจจุราชคือความตายก็ไม่เคยปราณีใคร ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืนแต่ความตายเป็นของยั่งยืน ไม่มีใครหนี้พ้น ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย รวยหรือจน  ต่ำแหน่งสูงหรือต่ำ มันไม่สนใจอะไรทั้งนั้น  เมื่อถึงเวลามันพร้อมจะปลิดชีพของทุกคนทันที
        เสียงพระสวดกุสลาดังก้องบ้านเป็นวันสุดท้ายของการบำเพ็ญกุศล ต่อจากนี้น้องต้องเดินทางคนเดียว เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายที่เเสนเดียวดายมีเสบียงคือบุญกุศลที่น้องสั่งสมมาและพ่อแม่ญาติมิตรทำอุทิศให้เพื่อส่งน้องไปสู่ภพใหม่ภพที่คนมีชีวิตไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อนอยู่ตรงนั้นจะเป็นอย่างไรบ้างใครเล่าจะรู้

       กลิ่นควันธูปลอยอบอวลน้ำตาของเธอยังไม่หยุดไหลร่างของลูกกำลังจะสลายไปต่อหน้าต่อตา ความเจ็บปวดในใจของเธอไม่มีใครสามารถรับรู้ได้ ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกของการสูญเสียหากไม่เคยสูญเสีย  ยิ่งเป็นการสูญเสียคนที่รักแล้วยิ่งทำใจได้ยาก แล้วใครหนอจะช่วยแบ่งเบาความทุกข์ของเธอได้ นอกเสียจากเวลาจะช่วยเยียวยาบาดแผลในใจนี้แต่คงต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะพอ

     เมื่อกลิ่นควันธูปสิ้นไป คราบน้ำตาเหือดแห้งหาย คงเป็นวันนั้นแหละวันที่เธอเข้มแข็งที่จะยอมรับกฎของความเป็นจริงนี้ตลอดชีวิต

ชยวุฑฺโฒ

วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สนมสตอรี่แมวจรผู้รอดชีวิต

สนมเป็นแมวจรตัวเดียว
ที่รอดชีวิตจากการวางยา
ของคนใจร้าย

แม่ เหล่าน้องๆ และเพื่อนแมวจรของสนม 8 ตัว
ตายพร้อมกันเเบบผิดธรรมชาติ

ด้วยว่าแม่ของสนมและเหล่าน้องๆ 
ชอบออกไปข้างนอก
อาจจะสร้างความรำคาญให้กับคนอื่น
จึงถูกวางยา ตายพร้อมกัน

ส่วนสนมที่รอดมาได้ เพราะด้วยนิสัยชอบนอน
ไม่ชอบออกไปไหน ไกลสุดก็แค่เดินเล่นรอบๆที่พัก

ด้วยนิสัยชอบนอนจึงทำให้สนมรอดชีวิต
ปัจจุบันสนมสบายดีชอบนอนเหมือนเดิม
ติดและหวงเจ้าของมาก

แต่ก่อนชอบอยู่คนเดียวไม่ชอบให้ใครมายุ่ง
เดี๋ยวนี้เริ่มมีเพื่อนแมวจรที่มาอยู่ใหม่เป็นเพื่อน
พอได้คลายเหงาได้บ้าง

แต่ก็นักเลงไม่เบา กว่าจะเป็นเพื่อนกันได้ ก็ตบเขาไปหลายครั้ง เลือดตกยางออกเลยทีเดียว

สนมอายุจะ 10 ปีแล้ว อยู่ด้วยกันทุกช่วงชีวิต
รักเหมือนลูกคนหนึ่ง

จะดูแลเขาอย่างดี
จนกว่าเราทั้งสอง
จะตายจากกัน

ทำไมถึงชื่อสนมเดี๋ยวมาเล่าให้ฟังวันหลัง

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เชิญร่วมบริจาคเพื่อน้องๆ บนดอยสูง

ร่วมบุญ คนละ 1 แชร์
1 แชร์ = 1 ความช่วยเหลือ

ขอ ความอนุเคราะห์กับผู้ใจบุญทั้งหลาย กลุ่มอาสา แบ่งปันให้น้องได้ต้องการ
*รับบริจาค
1.ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว มุ้ง เสื้อผ้า
ของเล่น ตุ๊กตา
2.ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง
ขนม นมกล่อง ไมโล โอวัลติน
3.เมล็ดผักต่างๆ - อุปกรณ์ทำเกษตร
พร้า จอบ เสียม คราด บัวรดน้ำ ฯลฯ
4.อุปกรณ์การเรียน - เครื่องเขียน -
แบบฝึกหัด ABC กขค
วาดภาพระบายสี
5.อุปกรณ์กีฬา ฟุตบอล ฟุตซอล
ตะกร้อ วอลเลย์บอล ปิงปอง
แบดมินตัน เชือกกระโดด ฯลฯ
6.อุปกรณ์เครื่องครัวภาชนะต่างๆ หม้อ
กระทะ มีด ทัพพี ช้อน จาน ชาม
ถาดหลุม แก้วน้ำ ฯลฯ
7.เครื่องปรุงอาหาร น้ำตาล น้ำปลา
รสดี ซีอิ้ว น้ำมัน เกลือ ฯลฯ
8.สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แชมพู ขันน้ำ
ผงซักฟอก และของใช้จำเป็นต่างๆ
9.รองเท้าแตะ รองเท้านักเรียน ถุงเท้า
รองเท้าบูท
10.ยาสามัญ-เวชภัณฑ์ประจำบ้าน
ยากันยุง
11.อุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาด
ห้องเรียน - ห้องน้ำ
เปิดรับบริจาควันนี้ - กุมภาพันธ์2563
เริ่มกิจกรรม กุมภาพันธ์ 2563
ได้แก่
- โรงเรียนบ้านศาลาเท
- โรงเรียนบ้านแม่เกิบ
- โรงเรียนบ้านห้วยบง
อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
* ร่วมบุญสมทบทุนสนับสนุนกิจกรรม
1.เลี้ยงอาหารเด็กๆ
2.ทุนการศึกษา
3.เหมารถโฟวิลขนของขึ้นดอย

"ร่วมเป็นส่วนหนึ่งช่วยเหลือเด็กดอย
ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล"

ร่วมสนับสนุนกิจกรรม ติดต่อสอบถามได้ที่
-พระกิตติภูมิ วชิรกิตฺติโก
089-5947850 นครศรีฯ
-พระศุภชัย สุภชโย
098-8391932 ลพบุรี
-นางศศิรินทร์ ศรีเจริญ
098-9864254 กรุงเทพฯ

ร่วมสมทบทุนสนับสนุนกิจกรรมได้ที่
บัญชี ธ.ไทยพาณิชย์
ชื่อ พระกิตติภูมิ สวัสดิสาร
เลขบัญชี 4049775048

ส่งของบริจาคได้ที่
นางศศิรินทร์ ศรีเจริญ
16/1 ริมคลองหัวหมากน้อย แยก 5 หัวหมาก
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10241
โทร.098-9864254

การสั่งซื้อจากร้านค้าออนไลน์ แบ่งปันให้น้องๆ
- JD
- Shopee
- lazada
- Big C
- Tesco Lotus
- top supermarket
ส่วนใหญ่แล้วจะส่งฟรี ไม่ต้องเสียเวลาแพ็ค ไม่ต้องเสียเวลาไปส่ง ง่ายๆเลือกจากมือถือได้เลย
ขั้นตอนการสั่ง
สั่ง > จ่าย > มาส่งถึงบ้านเร็ว > สินค้าปลอดภัย

ดูกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
Youtube : tik phumsarn
Facebook Page : กลุ่มอาสา แบ่งปันให้น้อง
https://www.facebook.com/Bangpunhainong/

- อมก๋อย จ.เชียงใหม่
https://youtu.be/5_bdu6pj1tI
https://youtu.be/4T_jMCb--OM
https://youtu.be/90wGBXsnxcg
- อุ้มผาง จ.ตาก
https://youtu.be/hA7RJtdCEdQ
https://youtu.be/jitfhdbyZzQ
https://youtu.be/yKSHqo_T6JA
- ท่าสองยาง จ.ตาก
https://youtu.be/8jFcOst_Dkc
https://youtu.be/G6-xxJJyYik
_____________________________

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

กุฏิสุขวงษ์ มรดกจากศรัทธา : บูรณะกุฎิโบรณ สืบสานปราชญ์ อุบลราชธานี วัดมณีวนาราม



         กุฏิหลังนี้ ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส ด้านทิศเหนือของวัด ในบรรดากุฏิทั้ง ๔ หลัง เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ตามแถวถนน เป็นกุฏิหลังที่สาม ข้อมูลทางวัดระบุว่า “...กุฏิสายสุขวงศ์ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร

      ลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง มีใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วสูง โดยเมื่อเทียบเคียงกับกุฏิหลังอื่นๆ ภายในวัด กุฏิหลังนี้จะมีหลังคาที่สูงที่สุด ตัวเรือนก่อผนังเป็นฝาไม้กระดานในแนวนอนตลอดตัวเรือน ขนาด ๓ ห้องมีการเจาะช่องหน้าต่างและประตู ตัวเรือนภายในการมีกั้นห้องด้วยฝาไม้กระดานเช่นกัน แบ่งออกเป็น ๓ ห้องโดยแต่ละห้องมีประตูทางเข้าภายใน ห้องละ ๑ ทาง ทั้งนี้ น่าสังเกตว่ากุฎิหลังนี้ไม่มีช่องระแนงหรือช่องลมมากนัก เมื่อเทียบเคียงกับหลังอื่นๆ โดยตัวเรือนของอาคารนี้ไม่มีการเจาะช่องระแนงหรือช่องลม ส่วนหน้าของตัวเรือนมีการทำชานยืนออกไปเป็นมุข ตัวชานมีการก่อระเบียงเจาะลูกกรงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยมีพื้นที่รับกับส่วนพื้นที่ตัวเรือนของอาคาร ส่วนชานยังมีการทำบันไดในแนวขนานติดกับชาน เพียง ๑ ทาง คล้ายคลึงกับกุฏิหลังอื่นๆเช่นกัน ที่ผนังชานกุฏิมีป้ายโลหะ เขียนชื่อด้วยตัวอักษรไทย จำนวน ๑ บรรทัด ความว่า “...กุฏิสุขวงษ์...”
จุดเด่นของอาคารหลังนี้อาจกล่าวได้ว่าคือการทำหลังคาทรงจั่วที่สูงกว่าอาคารกุฏิหลังอื่นๆ จนกระทั่งทำให้ส่วนหลังคาของชานมุขมีมีความลาดแตกต่างกับส่วนหลังของตัวเรือนอย่างเด่นชัด คล้ายกับว่าส่วนหลังคาเป็นคนละส่วนกัน

      คุณพ่อกิ้มตุ้ม ไสสมบัติ (แซ่โง้ว) ผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์



คุณยายสายบัว  สุขวงษ์ (ไชยศิริ) ผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์ ร่วมกับสามี 

       กุฏิสุขวงษ์สร้างโดยคุณพ่อกิ้มตุ้ม ไสสมบัติ และภริยา คือ นางสายบัว สุขวงษ์ เป็นผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์ เนื่องจากนามสกุลพ้องกัน และทั้งสองท่าน เป็นโยมคุ้มวัดมณีวนาราม ที่มีศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถวัดมณีวนารามโดยพบว่าทั้งสองมีรูปภาพหินอ่อนประดับไว้ภายในอุโบสถ ซึ่งนับเป็นหลักฐานสำคัญ ด้วยในอุโบสถมีเพียง หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช (ชุมพล) ผู้บริจาคทรัพย์อันดับ ๑ จำนวนเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท และ สองสามีภรรยาดังกล่าว เท่านั้น จากบรรดาเจ้าศรัทธากว่า ๘๗๑ ราย 


     ปัจจุบันกุฎิสุขวงษ์ เป็นสถานที่จัดแสดงภาพเก่าๆเกี่ยวกับวัดมณีวนาราม และเป็นสถานที่จัดแสดงภาพบูรพาจารย์ผู้มีคุณูปการต่อวัดมณีวนาราม





ภาพ: พระมหานิกร  โสภโณ
ข้อมูล:วีณา  วีสเพ็ญ[1] ,ปกรณ์  ปุกหุต[2],
ณัฐพงค์ มั่นคง[3], จิรวัฒน์  ตั้งจิตรเจริญ


[1]รองศาสตราจารย์ ประธานคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม
[2]เลขานุการ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม และวิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์
[3]กรรมการฝ่ายประสานงาน คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม 

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

กุฏิมหาดิลก มรดกจากศรัทธา : บูรณะกุฎิโบรณ สืบสานปราชญ์ อุบลราชธานี วัดมณีวนาราม


กุฏิหลังนี้ ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส ด้านทิศเหนือของวัด ในบรรดากุฏิทั้ง ๔ หลัง เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ตามแถวถนน เป็นกุฏิหลังที่สอง ข้อมูลทางวัดระบุว่า “...กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร...” (เทพมงคลเมธี, พระ, ๒๕๓๐: ๖)
         


       ลักษณะเป็นอาคารไม้กระดานยกพื้นสูง มีใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ลาดเตี้ย ส่วนเสาใต้ถุนเป็นเสาไม้ ตัวเรือนก่อเป็นฝาไม้กระดานตีเป็นผนังอาคาร ขนาด ๓ ห้อง โดยฝาผนังส่วนใต้หน้าต่าง ตีเป็นฝาไม้กระดานในแนวนอนส่วนผนังระหว่างหน้าต่างจรดผนังเรือนด้านบนสุดตีเป็นฝาไม้กระดานในแนวตั้ง มีการเจาะช่องหน้าต่างกับบานกระจกใสไว้เหนือช่องหน้าต่าง 


     ส่วนตัวเรือนภายในมีการกันห้องออกเป็น ๓ ห้อง โดยแต่ละห้องมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว ตัวเรือนมีการทำชานด้านหน้าต่อออกเป็นมุข เป็นชานโปร่ง มีการทำระเบียงเจาะลูกกรงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
ส่วนชานมีการทำบันไดขึ้นสู่ชานและตัวเรือน ๑ ทาง โดยวางตัวในแนวขนานติดกับชานด้านหน้า ทั้งนี้ ส่วนหลังคาทรงจั่วข้างต้นลาดคลุมทั้งส่วนตัวเรือนและส่วนชานด้วย โดยจั่วที่สูงที่สุดจะวางตัวในแนวนอนในส่วนเรือนที่เหนือชานประดับป้ายชื่อกุฏิ ด้วยอักษรไทย จำนวน ๔ บรรทัด ความว่า “...กุฏิมหาดิลก พ.อ.ฑิน มหาดิลก สร้างอุทิศแด่ นายเรือง นางคูณ หาริษาวรรณ และนางพันธ์ จุลกนิษฐ์ ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๓...” 



          กุฏิมหาดิลก  ตั้งชื่อตามนามสกุลของท่านผู้บริจาคทรัพย์สร้างกุฏิขึ้น คือ พ.อ.ฑิน มหาดิลก (ชื่อท่านอ่านว่า “ทิน”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออุทิศกุศลบุญ แด่ นายเรือง หาริษาวรรณ นางคูณ หาริษาวรรณ และนางพันธ์ จุลกนิษฐ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ตามที่ระบุไว้ในป้ายหน้ากุฏิ



        อนุสรณ์อีกแห่งภายในวัดนี้นอกจากกุฏิมหาดิลก แล้วคือซุ้มประตูวัดทิศใต้ หรือ ประตูมหาดิลก ซึ่งใช้เป็นทางเข้าของโรงเรียนอุบลวิทยากร และของวัดมณีวนาราม ด้านติดกับถนนพโลรังฤทธิ์ และวัดทุ่งศรีเมือง


ประตูโขงนี้ ยังเป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวคุณนายมาลัย มหาดิลก ได้แก่ คุณแม่คูณ หาริษาวรรณ คุณแม่พันธ์ จุลกนิษฐ์  คุณนายมาลัย มหาดิลก คุณยายตุ้มทอง นิลทวี ซึ่งจากจารึกที่ป้ายบรรจุอัฐิทำให้ทราบว่า คุณนายมาลัย มหาดิลก เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ และเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริอายุ ๖๗ ปี


ภาพ: พระมหานิกร  โสภโณ
ข้อมูล:วีณา  วีสเพ็ญ[1] ,ปกรณ์  ปุกหุต[2],
ณัฐพงค์ มั่นคง[3], จิรวัฒน์  ตั้งจิตรเจริญ


[1]รองศาสตราจารย์ ประธานคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม
[2]เลขานุการ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม และวิทยากรประจำพิพิธภัณฑ์
[3]กรรมการฝ่ายประสานงาน คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์วัดมณีวนาราม 

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

งานนมัสการขอพรพระแก้วโกเมนสาธุชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

๖  มีนาคม ๒๕๖๒ งานนมัสการขอพรพระแก้วโกเมน


                      วันที่ ๖  มีนาคม ของทุกปีถือว่าเป็นบุญประจำปีของวัดมณีวนาราม  นั้นก็คืองานนมัสการพระแก้วโกเมน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี




วลาประมาณ ๑๙.๐๐ น.ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี  เจ้าคณะภาค ๑๐  เมตตาเป็นองค์กล่าวสัมโมทนียกถาและเป็นประธานจุดเทียนชัย  และได้รับความเมตตาจากพระเถระในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุบล  เป็นประธานสงฆ์ในการเจริญพระพุทธมนต์  


พระเดชพระคุณพระเทพวราจารย์  เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี  เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ได้นำสาธุชนสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ  สังฆคุณ และพาหุงมหากา  ตลอดทั้งคืน เหมือนทุกปีที่ผ่านมา


ในงานครั้งนี้มียอดลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดเกือบ ๑,๕๐๐ คน ถือว่ามากกว่าปีที่แล้ว  

         สุดท้ายนี้ขออนุโมทนาเจ้าภาพโรงทานกว่า ๔๐ คณะ ที่มาร่วมสร้างกุศลในงานครั้งนี้ และขออนุโมทนาทุกท่านที่เข้าร่วมงานขอให้มีความสุข ความเจริญ ทุกคนทุกนท่าเถิด

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สวดมนต์ข้ามปี ดีต่อใจ ใครก็ทำได้ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปี วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม


ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปี วันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๖๑
ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

 วัดมณีวนารามขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปีในวันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๖๑ เพื่อเสริมสริมงคลแก่ชีวิตก่อนจะถึงปีใหม่ 
     
           ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทางวัดมณีวนารามได้เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะขอพรหลวงพ่อพระแก้วโกเมนเเละร่วมสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งทางวัดได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้จัดระหว่างวันที่  ๓๑  ธันวาคม ๒๕๖๑ ถึง ๑ มกราคม ๒๕๖๒ ต้อนรับปีใหม่ด้วยวิถีพุทธ คือ การสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ  สังฆคุณ และเจริญจิตภาวนา เริ่มต้นสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

      ฉะนั้นจึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านมาร่วมสวดมนต์ข้ามปี ทำความดี  สร้างกุศลบุญบารมีร่วมกัน  ใน วันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๖๑ เพื่อถวามเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดอุบราชธานี

   สวดมนต์ข้ามปี  ดีต่อใจ ใครๆก็ทำได้

 บทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
บทพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
บทพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


บทสวดคาถาโพธิบาท  คาถาป้องกันภัย ๑๐ ทิศ


บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อิสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ


.....ชยวุฑโฒ

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สถานที่ต้องห้าม...พลาดในอำเภอคำชะอี "สะพานบุญ" บึงเกาะแก้วมณีสังวาลย์


สะพานบุญ สร้างขึ้นเพื่อทดแทนสะพานเก่าที่ชำรุด ซึ่งเป็นสะพานที่พระภิกษุ สามเณร ที่จำพรรษาในบึงเกาะแก้วมณีสังวาลย์ (บึงหนองบง) ไว้ใช้ข้ามไปมาในการทำกิจวัตร เช่น  บิณฑบาตเป็นต้น

สะพานบุญ เกิดจากการร่วมแรงร่วงใจของชาวบ้านได้สร้างขึ้น  ตั้งอยู่บริเวณบึงหนองบง บ้านหนองบง ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ถ้าเราเดินทางมาจากตัวจังหวัดมุกดาหารจะอยู่ซ้ายมือ แต่ถ้าเรามาจากตัวอำเภอคำชะอีจะอยู่ขวามือ

 เป็นสะพานที่เหมาะสมสำหรับท่านที่ชอบถ่ายภาพเป็นอย่างยิ่ง รับรองได้ภาพสวยๆไปโพสต์อย่างแน่นอน แนะนำให้มาเวลาเย็นจะได้ชมพระอาทิตย์ตกดินด้วย

ถ่ายภาพยังไม่พอยังมีโอกาสได้กราบพระ ทำบุญอีกด้วยและในกลางเกาะนี้ยังมีรูปปั้น ปู่นาค ย่านาคี ที่กำลังก่อสร้างท่านใด ประสงค์จะร่วมบุญก็สามารถไปร่วมสร้างบารมีกันได้


ถ้าผ่านไปผ่านมาอย่าลืมแวะนะ ห้ามพลาดเป็นเด็ดขาด

ใกล้ตา ไกลตีน

ชีวิตที่ขาดเป้าหมาย
ไม่ต่างอะไรจากเรือที่ไร้เข็มทิศ
มันย่อมลอยเคว้งคว้างอยู่กลางมหาสมุทร
คนเราก็เช่นกันถ้าขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตแล้ว
ชีวิตในแต่ละวันคงเฉื่อยชาหมดหวัง
ไร้ความตื่นเต้น
เหมือนวัวในโรงฆ่าสัตว์
ที่นั่งนอนรอวันตายเท่านั้น
.
เป้าหมายในชีวิตของคนเราย่อมแตกต่างกันไป
จำแนกตามความชอบ ความเชื่อ ความฝัน และอื่นๆ
บางคนตั้งเป้าหมายไว้ใกล้ใช้เวลาเดินไปไม่นานก็ถึง
(แต่ไม่เสมอไป)
.
บางคนตั้งเป้าหมายไว้ไกล
ต้องใช้เวลานาน
และอาจจะใช้เวลาทั้งชีวิตก็ได้ ถึงจะสำเร็จ
(ไม่เสมอไปเช่นกัน)
.
ทุกคนต่างมีเป้าหมาย
แต่ใช้ว่าทุกคนจะไปถึง
.
บางทีคนเราก็เปลี่ยนเป้าหมายอยู่เรื่อย
เห็นคนนี้ทำแบบนี้แล้วประสบความสำเร็จ
ก็อยากทำเหมือนกันกับเขา ละทิ้งเป้าหมาย
ของตนแล้วมาวิ่งตามหลังคนอื่น
.
พอถึงจุดๆหนึ่งเริ่มเจอความยากลำบาก
ก็เริ่มเหนื่อย เริ่มท้อ
เริ่มตั้งคำถามว่า
ทำไมเราไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งที่เราก็ทำเหมือนกันกับเขาทุกอย่าง
.
เพราะอะไรนะหรือ?
เพราะมันไม่ใช่ทางของเราไง
.
ความสำเร็จของคนอื่นที่เราเห็น
มันช่างสวยงามนัก
 ชวนน่าหลงใหลจนเราลืมไปว่า
กว่าเขาจะมาถึงจุดๆนี้นั้น
เขาต้องใช้เวลา ความอดทน
และความพยายามมากขนาดไหน
ถึงจะประสบความสำเร็จ
.
จงกลับมาเดินตามทางของตนซะ
.
เป้าหมายที่มองเห็น
ดูเหมือนจะใกล้สำหรับสายตา
แต่ความจริงมันอยู่แสนไกล
สำหรับเท้าที่จะเดิน
 .
เหมือนกับภูเขา
สายตาที่เรามองเห็นดูเหมือนมันจะอยู่ใกล้ๆและเล็กๆ
แต่เอาเข้าจริงแล้วมันอยู่ตั้งไกลและยิ่งใหญ่
เมื่อได้เอาเท้าลงไปเดิน
.
ก่อนขึ้นภูผาซาน
พระอาจารย์หนาว กับพระอาจารย์โจ
ท่านได้เอ่ยประโยคหนึ่งเชิงขำขัน
ขึ้นมาว่า ใกล้ตา ไกลตีน
.
ตอนแรกผู้เขียนก็ยังไม่เข้าใจแน่ชัด
จนได้สัมผัสความหมายของประโยคนี้
เข้าจริงๆ
.
ก็ตอนที่ต้องแบกร่างกายของชายวัย ๒๓(ตัวเอง)
น้ำหนัก ๖๕ ขึ้นผาต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก
.
ไกลจริงๆ
.
ภูเขาลูกที่เราขึ้นเป็นลูกเดียวกัน
กับภูเขาที่เรามองเห็นแล้วคิดว่า มันอยู่ใกล้
แท้จริงแล้ว...โอ้โห้
.
ประโยคนี้ของ พระอาจารย์ทั้งสอง
ลึกซึ้งยิ่งนัก ใกล้สำหรับตาที่มอง แต่ไกลสำหรับเท้าที่จะเดิน
.
เหมือนกับเป้าหมายในชีวิตเรานั้นแหละ
ความสำเร็จมันเหมือนจะอยู่ใกล้ๆ
แต่ที่จริงแล้วระยะทางที่จะไปหา
ความสำเร็จนั้นช่างไกลเหลือเกิน
.
แต่มันก็ไม่ไกลเกินกว่าความพยายามของคนหรอกนะ
ถ้าเราเลือกเดินทางที่ใช่สำหรับเรา
#หลวงพี่มหาแต้ม

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

หาบฝันส่งลูกเรียน

ในยุคที่การศึกษาต้องอาศัย
เงินทองมายมากเป็นตัวขับเคลื่อน
ไม่มีเงิน-เรียนไม่จบ
เงินไม่สำคัญ แต่ดูเหมือนมันจะจำเป็น
ที่สุดในการส่งลูกเรียน
.
วันก่อนเดินไปเจอแม่ค้ากำลัง
หาบของขาย ในสาแหรกคงหนักน่าดู
สังเกตจากของที่หาบมา
.
ต้องทนหาบขายทั้งวัน
เพื่ออะไร?
ถ้าไม่ใช่ปากท้องของครอบครัว
และส่งลูกเรียน ประโยคที่ว่า
เรียนเหนื่อย แต่คนส่งเรียนเหนื่อยกว่า
น่าจะใช้ได้
.
เด็กสมัยนี้บางคนความอดทนต่ำ
ไปเรียนก็บ่นเหนื่อย แต่กับสนุกสนาน
เมื่อได้ไปเที่ยวเตร่กับเพื่อน
คนใช้เงินอาจจะสบาย แต่คนหาเงินนั้นลำบาก
.
ลองฉุกคิดนิดหนึ่งว่า
ทุกวันนี้ใครส่งเราเรียน
เราทำตัวสมกับเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านแลกมาด้วยหยาดเหงื่อแล้วหรือยัง
 .
ลองตอบตัวเองดูเถิด

หลวงพี่มหาแต้ม

โพสต์แนะนำ

แล้วมันจะผ่านไปจริงๆ

                                สักวันหากคุณเจอ เรื่องราวร้ายๆ   ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  เรื่องที่คุณไม่สามารถ แก้ไขอะไรมันได้   ...