วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สวดมนต์ข้ามปี ดีต่อใจ ใครก็ทำได้ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปี วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปี วันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๕๙ 
เพื่อถวามเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม




           วัดมณีวนารามขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมสวดมนต์ข้ามปีใน วันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๕๙ เพื่อถวามเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อเสริมสริมงคลแก่ชีวิตก่อนจะถึงปีใหม่ 
     
           ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทางวัดมณีวนารามได้เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะขอพรหลวงพ่อพระแก้วโกเมนเเละร่วมสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งทางวัดได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้จัดระหว่างวันที่ ๓๑  ธันวาคม  ๒๕๕๙ ถึง ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ต้อนรับปีใหม่ด้วยวิถีพุทธ คือ การสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ  สังฆคุณ และเจริญจิตภาวนา เริ่มต้นสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

      ฉะนั้นจึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านมาร่วมสวดมนต์ข้ามปี ทำความดี  สร้างกุศลบุญบารมีร่วมกัน  ใน วันที่ ๓๑  ธันวาคม ๒๕๕๙ เพื่อถวามเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ หอพระแก้วโกเมน วัดมณีวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง  จังหวัดอุบราชธานี

   สวดมนต์ข้ามปี  ดีต่อใจ ใครๆก็ทำได้

 บทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
บทพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
บทพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


บทสวดคาถาโพธิบาท  คาถาป้องกันภัย ๑๐ ทิศ


บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อิสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ




ขอบคุณภาพจากเพจโรงเรียนอุบลวิทยากร

.....ชยวุฑโฒ
             

วัดมณีวนาราม อุปสมบท''มหาเปรียญ'' ผู้เป็นเนื้อนาบุญของพระศาสนา วันที่ ๒๘ - ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙



วัดมณีวนาราม  อุปสมบท''มหาเปรียญ'' ผู้เป็นเนื้อนาบุญของพระศาสนา



      วัดมณีวนารามขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญทั้งหลาย  ร่วมงานอุปสมบทและฉลองเปรียญธรรม  ๔ ประโยค
สามเณรปิยพน  พันธ์คูณ นักธรรมเอก   เปรียญธรรม  ๔  ประโยค  ณ  วัดมณีวนาราม  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี    วันที่   ๒๘  -  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๕๙


  จากเมืองดอกช้างน้าว  สู่ดินแดนนักปราชญ์เมือง  ดอกบัว  

           บ้านเหล่าล้อม  ถิ่นกำเนิดของ  เด็กชายปิยพน  พันธ์คูณ    ในวัยเด็ก  เด็กชายผู้จากบ้านเกิดเมืองนอนคือจังหวัดมุกดาหาร สู่เมืองนักปราชญ์จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยใจฝักใฝ่ในการศึกษา ปัจจุบันคือ สามเณรปิยพน  พันธ์คูณ เปรียญ

         สามเณรปิยพน  พันธ์คูณ หรือที่รู้จักกันดีคือ มหาต้อม  ผู้เป็นเนื้อนาบุญอยู่ในร่มเงาของบวรพุทธศาสนา  บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๕  พฤษภาคม  ๒๕๕๒  ณ  วัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระเดชพระคุณพระเทพกิตติมุนี อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี  อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง)  เป็นพระอุปัชฌาย์ 


ความสำเร็จไม่ทิ้งคนขยัน   "สามเณรเปรียญธรรม '' แห่งมณีวนาราม

      หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้ตั้งใจเล่าเรียนศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม จนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่  ๖ โรงเรียนกิตติญาณวิทยา  วัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง)  และสอบไล่ได้นักธรรมเอก   เปรียญธรรม  ๔  ประโยค  หรือเรียกกันว่า  '' สามเณรเปรียญธรรม''

สามเณรเปรียญธรรม เป็นคำใช้เรียนสามเณรผู้สอบสอบไล่ได้ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลีตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไปจนถึง ๙ ประโยค เรียกว่า เปรียญ หรือ สามเณรเปรียญธรรม มีอักษรย่อว่า ป. หรือ ป.ธ. ซึ่งสามเณรปิยพน  พันธ์คูณนั้น สอบไล่ได้ถึง  เปรียญธรรม  ๔  ประโยค เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนายิ่งนัก


๗  ปี ของการเป็นเหล่าก่อแห่งสมณะ

     ตั้งแต่บรรพชาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาถึง  ๗ ปีแล้วที่สามเณรปิยพน  พันธ์คูณได้อยู่ในร่มเงาของพระศาสนา ทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสอนของพุทธองค์ สร้างคุณประโยชน์ และเป็นกำลังหลักในการช่วยงานพระศาสนา  เช่น การเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี  กรรมการกับกับห้องสอบ นักธรรมและธรรมศึกษา สนามสอบวัดมณีวนาราม เป็นประจำทุกปี  



  อุปสมบท''มหาเปรียญ'' ผู้เป็นเนื้อนาบุญของพระศาสนา

ในวันที่  ๒๘  -  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๕๙ จึงขอเรียนเชิญผู้ใจบุญทั้งหลาย  ร่วมอนุโมทนางานอุปสมบทและมุทิตาสัการะฉลองเปรียญธรรม  ๔ ประโยค  สามเณรปิยพน  พันธ์คูณ นักธรรมเอก   เปรียญธรรม  ๔  ประโยค  ณ  วัดมณีวนาราม  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี    เพราะหาได้ยากนักที่จะได้ร่วมงานอุปสมบทสามเณรที่เป็นมหาเปรียญ และเพื่อเป็นการแสดงความชื่นชมยินดีแก่ความวิริยะอุตสาหะในความสำเร็จของท่านในงานคราวครั้งนี้

 ขอให้ทุกท่านร่วมอนุโมทนา  สาธุ  ด้วยกัน


  กำหนดการ

วันที่ 28 ธันวาคม 2559
เวลา 08.00 น. - ตั้งกองบวช ณ หอพระแก้วโกเมณ
เวลา 17.00 น. - แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ โดย พระเทพวราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม
เวลา 18.00 น. - เจริญพระพุทธมนต์

วันที่ 29 ธันวาคม 2559
เวลา 08.30 น. แห่สามเณรรอบอุโบสถ
เวลา 09.00 น. ประกอบพิธีอุปสมบท
เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณร



ชยวุฑฺโฒ  
ขอน้อมมุทิตาสาธุ

















วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

...ชีวิตติดธรรมดา


.ชีวิตที่ติดความเป็นธรรมดา
คือ..ชีวิตที่หาความสุขง่ายที่สุด
ใช้ชีวิตแบบ #เรียบง่าย แต่ไม่มักง่าย
สุขได้ง่ายๆกับความเป็นอยู่แบบธรรมดา
แต่จิตใจไม่ธรรมดา อยู่อย่าต่ำ แต่ทำอย่าสูง(ทำดี)
#เหมือนดอกไม้ต้นเล็กๆ
ถึงแม้มันจะอยู่ติดดิน แต่มันก็สามารถ..ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างสวยงาม
#ชีวิตก็เช่นกัน

ความหรูหรา ไม่ได้การันตีความสุข  เพราะความสุขเกิดที่ใจไม่ใช่วัตถุ
...หาความสุขง่ายๆ เริ่มที่ใจของ..คนธรรมดา

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มองปัญหา ให้เห็นปัญญา


..หากกำลังเผชิญปัญหาและกำลังจะมีปัญหา ที่เกิดขึ้น
อย่าพึงรีบด่วนตัดสินใจว่า มัน ง่าย หรือยาก ถ้ายังไม่ลองแก้

ปัญหา
ถ้าเรามองมันให้เป็นเราก็จะเย็นใจ มองไม่เป็นก็ทุกข์ใจ
ชีวิตกับปัญหา  ไม่ต่างอะไรจากพริกกับเกลือ คู่รักคู่แค้น
ถึงจะไม่ต้องการ แต่ก็มีมาให้แก้บ่อยๆ
แต่ให้
ลองนึกดูก่อนว่าอะไรมันสำคัญกว่ากันระหว่างชีวิต กับ ปัญหา
บางคนเจอปัญหาจนลืมไปว่าเรายังมีชีวิตอยู่ เสียงใจ ร้องไห้ จะฆ่าตัวตาย
เพราะคิดว่ามันคือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
แต่แท้ที่จริงแล้วการแก้ปัญหาบางอย่างมันก็ไม่ได้แก้ยากอะไรเลย แต่ที่ยากนะมันอยู่ที่ความคิดเราต่างหาก
ต้องทำอย่างนี้ ต้องทำอย่างนั้น ต้องมีอย่างโน้น ต้องมีอย่างนี้
ถึงจะแก้ได้
บางทีก็ทำจากเรื่องเล็กๆให้เติบโตจนกลายมาเป็นเรื่องใหญ่ จากเรื่องไม่เป็นเรื่อง
การแก้ปัญหาที่ดี
เราควรเริ่มแก้ที่ใจเราก่อน เริ่มที่ตัวเราก่อน
หาสาเหตุให้มันเจอ  ว่ามันเกิดจากอะไร
เพราะทุกอย่างย่อมมีเหตุมีผล
เมื่อทราบแล้วควรมีใจที่สงบไร้ความกังวลแล้วแก้มันให้กระจ่าง
บางครั้งยิ่งกังวลใจมากเท่าไหร่  ทางแก้ปัญหาก็จะมืดมนมากเท่านั้น
มีสตินะ
และควร
มองเห็นปัญหา  ให้เหมือนมองเห็นปัญญา
ถ้าไม่มีปัญหามา แล้วเราจะเอาปัญญามาจากที่ไหนแก้
ชีวิตที่ขาดอุปสรรคและปัญหาเป็นชีวิตที่ขาดรสชาติมากเลย
เพราะฉะนั้นอย่าคิดที่จะจบชีวิตเพื่อแก้ปัญหา แต่จงมองปัญหาว่ามันคือ  ''หนทางเดียวที่จะทำให้ใจเรานั้นเข้มแข็ง
๏เปื้อนฝุ่น

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เรื่องเล่าบนรถแท็กซี่

๏แท็กซี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้เขียนเลือกใช้อยู่เป็นประจำไม่ว่าจะไปมหาลัยหรือไปร้านหนังสือ  เพียงแค่โทรหาคอลเซ็นเตอร์ รอสักครู่ก็จะมีแท็กซี่มารับถึงที่  ด้วยบริการที่สะดวกสบายรวดเร็วประทับใจ ทำให้ติดใจและเลือกใช้บริการบ่อยครั้ง

ที่ผู้เขียนสนใจไม่ใช่แค่การบริการด้วยความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีมุมที่ยังคงเป็นเสน่ห์บนรถแท็กซี่ คือเรื่องเล่า..และประสบการณ์ชีวิตของคนขับ

ระหว่างเรารอรถแท็กซี่ เราไม่รู้หรอกว่าจะได้ใครเป็นคนขับ เพราะคนขับแท็กซี่แต่ละคนล้วนมีอายุ อุปนิสัย อารมณ์ วุฒิการศึกษา  ฐานะครอบครัว ที่แตกต่างกันไป

บ้างครั้งก็มีคนขับเป็นถึง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณราชการแล้วมารายได้พิเศษ บาทีก็เจอวัยรุ่นใจร้อน  ขับ..เร็ว แรง.เกือบทะลุนรกก็มี  หรือแม้แต่วัยกลางคนที่กำลังมีครอบครัว

คนขับเหล่านี้มีเรื่องเล่าเรื่องคุยที่มีรสชาติแตกต่างกันออกไป อย่างเช่นเรื่องของพี่คนนี้

๏อาทิตย์ที่แล้วนั่งแท็กซี่จากสถานีขนส่งมาที่พัก ระหว่างทางก็ได้สนทนาคุยกันเป็นเรื่องปกติ  "ขับรถมากี่ปีแล้ว" ผู้เขียนเปิดประเด็นถาม  แล้วพี่แกก็ตอบว่า" ขับตั้งแต่อายุสิบแปด ตอนนี้ก็สามสิบห้าแล้วครับ ก็เกือบยี่สิบปี่" พอได้ยินคำตอบผู้เขียนถึงกับตกใจกับอายุการทำงานของแก แล้วถามอีกว่า"แล้ววันหนึ่งเฉลี่ยแล้วได้กี่บาท" แกเงียบไปครู่หนึ่งเหมือนกำลังคิดถึงอะไรสักอย่าง "ทุกวันนี้ลำบากครับ แต่ก่อนก็พอกินพอใช้ เพราะภาระมันไม่มาก แต่ตั้งแต่เลิกกับแฟนไป ภาระก็ตกมาอยู่ที่ผมคนเดียว อีกอย่างผมต้องเลี้ยงลูกตั้งสองคน ถ้าผิดไม่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดผมจะขับทั้งวันไม่คืนเลย" เเกพูดด้วยน้ำเสียงสั่นๆ ผู้เขียนก็ถามอีกว่า "ลูกอายุเท่าไหร่แล้ว" "คนเล็กสามเดือน คนโตสิบสี่ปีแล้วครับ ดีนะคนเล็กญาติเอาไปเลี้ยงที่ต่างอำเภอ แต่ผมก็ต้องส่งค่านมทุกเดือน ส่วนคนโตก็เข้าโรงเรียนแล้ว" คำตอบของแกเหมือนกำลังจะระบายความทุกข์ที่ อัดอั้นตันใจมานาน

"ต้องสู้เท่านั้น ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ก็ต้องสู้ต่อไปนะ"

"ครับ เพื่อลูกผมต้อทำ เพราะเลี้ยงลูกเขามีเลือดเนื้อเราผมไม่เคยเสียดาย แต่เลี้ยงแฟนนี้สิไม่มีเลือดมีเนื้อเรา มันกับเอาเงินไปเล่นชู้ มีเเต่เสียกับเสีย ใจคอทำด้วยอะไรก็ไม่รู้  ตอนแรกรักกันมาก แต่ทิ้งผมไม่เท่าไหร่หรอก ลูกตัวเล็กๆไม่กี่เดือนมันยังทิ้งได้ลงคอ" เสียงของผู้ชายคนเดียวที่เลี้ยงลูกตั้งสองคน ภาระมากมายที่เขาต้องแบกรับ หนักหนาแค่ไหนเขาก็สู้เพื่อลูก

เลี้ยงลูกดีกว่าเลี้ยงแฟน
มุมมองความรักที่อวสานลงกลางคัน โดยมีพยายามแห่งความรักเหลือไว้ตั้งสองคน

ชีวิตคู่ หนึ่งบวกหนึ่งต้องกลายเป็นหนึ่ง หมายถึงใจของคนสองคนรวมกันต้องเป็นหนึ่งเดียว ไม่เป็นอื่น ต้องมี ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เสมอกันถึงจะอยู่ด้วยกันได้นาน

แต่ในเรื่องราวความรักไม่มีอะไรแน่นอนดั่งที่พุทธองค์สอนไว้
อนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา

เหมือนกับการนั่งแท็กซี่พอถึงปลายสุดท้ายแล้วก็ต้องลง

ก่อนจากกันดูหน้าแกยิ้มแย้มสบายใจขึ้นที่ได้ระบายมันออกมา

อำลาแท็กซี่ด้วยคำว่า...สู้ต่อไปนะ

๏เปื้อนฝุ่น




วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ต้นเค้าอุบลฯเมืองนักปราชญ์ ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์

ต้นเค้าอุบลฯเมืองนักปราชญ์
ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์



ชาติภูมิ
      ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์(ท่านเจ้าสุ้ย) นามเดิม สุ้ย      นับว่าท่านมีรูปร่างทรวดทรงสูงใหญ่สีผิวขาว    ท่าทางงามสง่าผ่าเผยมาก          วัน เดือน ปีเกิด และนามบิดา มารดา ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน ทราบเพียงว่าเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระ-พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี  รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ราวปี พ.ศ. ๒๓๓๒ท่านได้กำเนิด  ที่บ้านกวางคำ  ต.เขื่องใน  อ.เขื่องใน   จ.อุบลราชธานี  
การศึกษา  บรรพชาและอุปสมบท
        พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์หรือ  ในนามสมณศักดิ์เมืองอุบลยุคต้น คือพระธรรมบาล (สุ้ย)
      เมื่อบรรพชาแล้วได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่วัดหลวงในเขตตัวเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคนั้น  โดยการเรียนแบบโบราณ คือ เรียนหนังสือจากอาจารย์ ตามที่อาจารย์บอก หนังสือที่เรียนเป็นหนังสือใบลานจาร(เขียนด้วยเหล็กแหลมคล้ายปากกา) เป็นตัวอักษรลาวหรือตัวอักษรธรรม และอักษรไทน้อย เรียกว่า “หนังสือใหญ่” หนังสือผูกแรก คือปัญญาบารมี ผูกที่ ๒ สัพพสูตรไชย ผูกที่ ๓ หัสสวิชัย ต่อจากนั้นก็ฝึกอ่านหนังสือผูกอื่นๆ ให้ชำนาญแล้วก็เรียนเขียนอักษรธรรม อักษรไทยน้อย พร้อมทั้งท่องบทสวดมนต์ ฝึกหัดเทศน์ธรรมวัตร เทศน์ทำนองอีสานโบราณ เรียนมูลกัจจายน์ซึ่งมี สัททนีติรูปสิทธิประโยชน์ เป็นต้น หลังจากนั้น คงมีคณะเจ้าผู้ครองเมืองอุบลฯ ได้จัดเตรียมกำลังพลไปส่งท่านขณะเป็นสามเณร อายุ ๑๗ ปี ราวปี ๒๓๔๙ ท่านได้เดินทางจากเมืองอุบลฯสู่กรุงเทพฯเพื่อได้ ศึกษาเล่าเรียน ที่กรุงเทพฯ โดยการเดินเท้า เส้นทางสู่กรุงเทพฯ ต้องผ่านดงพญาไฟ ดงพญาเย็น นับว่าลำบากยิ่งในการเดินทาง  เมื่อถึงกรุงเทพแล้วท่านได้เข้าพำนักศึกษาที่สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหารเมื่ออายุครบ๒๐ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศฯราวปี ๒๓๕๒ ขณะนั้นสมเด็จพระวันรัต (อาจ) คงเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 
ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯได้ พำนักศึกษาทั้งปริยัติธรรม และปฎิบัติธรรมพระกรรมฐาน รวมถึงการศึกษาขนบธรรมเนียมของคนกรุงเทพ ข้อวัตรปฎิบัติของพระเถรานุเถระ และการปฏิสันฐานเรียนรู้การปฏิบัติต้อนรับเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน  จนได้เปรีญธรรม ๓ ประโยคและมีความแตกฉานยิ่งในอรรถบาลี หลักธรรมในพระไตรปิฏก   
แต่งตั้งสมณะศักดิ์

ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๓๖๗ เป็นสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรีขึ้นเสวยราชสมบัติ  โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ  ในขณะนั้น  ด้วยการที่ท่านเจ้าฯมีความรู้แตกฉานในการศึกษายิ่ง และสมณะวัตร          การปฏิบัติอันงดงามของท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓  จึงได้โปรดเกล้าแต่งตั้งสมณะศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามที่  ท่านเจ้าคุณพระอริวงศาจารย์  ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ แล้วโปรดแต่งตั้งให้กลับมารับตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ชั้นปกครอง ณ เมืองอุบลราชธานี  พร้อมทั้งทรงโปรดให้อัญเชิญรอยพระ-พุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศ พระพุทธรูป ตลอดจนเครื่องประกอบสมณศักดิ์ เช่น มีพัดยอด ปักทอง ขวางด้ามงา แต่ไม่มีแฉก และย่ามปักทองขวาง ฝาบาตรมุก และของพระราชทานอื่นๆ มาด้วย
กลับสู่แผ่นดินเมืองดอกบัว ในตำแหน่งสังฆราชแห่งประเทศราช
ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ นับเป็น เจ้าคุณรูปแรกแห่ง ภาคอีสาน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  ท่านได้กลับมาพำนัก ณ วัดมณีวนาราม( วัดป่าน้อย) โดยทางส่วนบ้านเมืองได้สร้างกุฏิแดง เป็นกุฏิไม้ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยผสมล้านช้างที่งดงามและโดดเด่นยิ่ง เพื่อใช้เป็นที่จำพรรษาของท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯ หลังจากนั้นท่านได้ไปนั่งภาวนาจิต ปฏิธรรมกรรมฐานบริเวณชายดงอู่ผึ่ง เพราะมีสายน้ำไหลผ่านจึงได้สร้างวัดขึ้นคือวัดทุ่งศรีเมือง และ วัดสวนสวรรค์บริเวณทิศตะวันออกของวัดทุ่งศรีเมือง (ภายหลังวัดสวนสรรค์ยุบวัดสร้างเป็นที่พักข้าหลวงสมัยรัชกาลที่ ๕)  ภายในวัดทุ่งศรีเมืองท่านได้สร้างหอพระพุทธบาท ภายในหอพระพุทธบาทยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับชาดกในพระพุทธศาสนา มีลักษณะงดงามตามศิลปะไทยอีกด้วย และหอไตร เป็นศิลปะสกุลช่างไทย ลาว พม่าที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวที่งดงามยิ่ง
ท่านได้นำรูปแบบ การศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติพระกรรมฐาน การเรียนการสอนภาษาไทย  จัดการการกระจายอำนาจบริหารโดยได้มอบหมายให้พระที่ทรงคุณวุฒิ มีความเป็นผู้นำ มีความรู้ทางพระปริยัติธรรมดี จัดการดูแลสำนักเรียนต่างๆ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการกระจายอำนาจปกครองแล้วยังเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เกิดแก่ชุมชนในที่ต่างๆของภาคอีสานด้วย นับว่ายุคนั้นหากใครที่ต้องการเล่าเรียนศึกษาต้องเดินทางมาที่เมืองอุบลดอกบัวแห่งนี้  นี่คือต้นเค้าแห่งความเจริญทางปริยัติธรรม หนังสือไทยศิลปวัฒนธรรมอย่างภาคกลาง ท่านได้นำไปแนะนำประสานให้เกิดความเข้าใจ เกิดความสงบเรียบร้อยเป็นปึกแผ่นในหัวเมืองอีสาน อันเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางการศึกษาทุก ๆ ด้าน จนมีผู้สนใจมาศึกษาเล่าเรียนจากทั่วสารทิศ นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผิดพ้องหมองใจกันของประชาชน และท่านยังเป็นที่ปรึกษาในการปกครองให้ฝ่ายบ้านเมืองให้มีความรักสามัคคีมีธรรมเป็นที่ตั้ง  ประชาชนชาวอีสานต่างให้ความเคารพยำเกรงท่านมาก จึงมีคำกล่าวติดปากชาวเมืองอุบลราชธานี ว่า ...“ท่านเจ้า”.
ท่านได้กำกับดูแล  แพร่เผยการศึกษา ในหัวเมืองอีสาน ได้แก่   “ขุขันธ์,สุรินทร์,สังขะ,ศรีสะเกษ,เดชอุดม,นครจำปาศักดิ์,สาระวัน,ทองคำใหญ่,สีทันดร,เชียงแตง,แสนปาง,อัตตะปือ,มุกดาหาร,เขมราช,โขงเจียม,สะเมีย,อุบลราชธานี,ยโสธร,นครพนม,ท่าอุเทน,สกลนคร,ไชยบุรี,กาฬสินธุ์,ร้อยเอ็ด,สุวรรณภูมิ,หนองคาย,หนองละหาน,ขอนแก่น,อุดร,ชนบท,ภูเวียง และปากเหือง”จนถึงสิ้นรัชกาลที่ 3 

พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ จึงเป็นพระสงฆ์ยุคแรกที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาให้แก่เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นราชธานีแห่งอีสาน รุ่งเรืองด้วยศาสนาศิลปวัฒนธรรม ตลอดสกุลช่างเฉพาะเมืองอุบลสืบต่อมาถึงปัจจุบัน จนได้รับการขนานนามว่า “เมืองนักปราชญ์”  เพราะการปฏิบัติงานได้เป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่งขึ้น ต่อมาจึงได้นำสมณศักดิ์ของท่าน มาเป็นพระนามในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช คือ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณพระมหาเถระผู้มีคุณูปการยิ่ง ต่อการนำพระศาสนามาประสานกับบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขแก่ผืนแผ่นดิน

อีกประการหนึ่งท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อตีดเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหารได้กล่าวในหนังสือ "กิ่งธรรม"เกี่ยวกับพระอริ-ยวงศาจารย์ ไว้ว่า “ท่านเจ้าคณะ พระอริยวงศาจารย์ และมีสร้อยอยู่ 2 ตอนว่าญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ ได้ขึ้นมาอยู่จังหวัดอุบลราชธานี และอยู่ที่วัดป่าน้อย เพราะเหตุที่ท่านเป็นพระที่สำคัญของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  ก็ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า    หาได้ยากมากในเมืองไทยในเวลานั้น ที่พระสงฆ์ในหัวเมืองจะเป็นชั้นพระราชาคณะ ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ และเป็นคนอุบลราชธานีอีกด้วย หลังจากท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดป่าน้อยจนเป็นหลักฐานดีแล้ว ได้ไปสร้างวัดอีกวัดหนึ่ง คือ วัดทุ่งศรีเมือง ทราบว่าท่านไปนั่งกรรมฐานที่นั่น ต่อมาทราบว่าที่วัดทุ่งศรืเมือง ก็มีรอยพระพุทธบาทได้ทราบว่าเป็นรอยพระพุทธบาทจากวัดสระเกศฯ และได้ทราบจากฝรั่งคนหนึ่งก่อนว่า พระบาทที่วัดทุ่งศรีเมือง เป็นพระบาทที่มาจากวัดสระเกศฯ”
มรณกาล

เมื่อประมาณราวปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ  ณ ห้องโถงใหญ่ ของกุฏิแดง เก็บศพไว้หลายปี จึงได้ทำรูปนกหัสดีลิงค์ ประกอบหอแก้วบนหลังนก บำเพ็ญกุศลตามประเพณีมีมหรสพตลอด ๗ วัน ๗ คืนเสร็จแล้วเชิญหีบศพรูปนพสูญขึ้นประดิษฐานบนหอแก้ว แล้วชักลากไปสู่ทุ่งศรีเมืองเยื้องไปด้านพายัพ พระราชทานเพลิง ณ ที่นั้น ท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ฯ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” ผู้บุกเบิกของอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

ข้อมูลเพจวัดมณีวนาราม

ต้นไม้นอกกระถาง

ต้นดอกไม้สองต้น
มันเกิดใกล้กัน
ต้นหนึ่งอยู่ในกระถาง
อีกต้นอยู่บนพื้น

ต้นในกระถางถูกดูแล
ประคบประหงมเอาใจใส่
อย่างดิบดี มีคนคอยรดน้ำ
พรวนดินไม่เคยขาด
ยามฝนตกหนักแดดแรง
คนสวนจะเอามันเข้าไป
ในร่มชายคาบ้าน
กลัวมันจะหัก
เพราะลมพายุ  กลัวมันเหี่ยวเซา
เมื่อต้องเจอแดดร้อนๆ


ต่างจากอีกต้นที่อยู่บนพื้น
แบบธรรมชาติของมัน
ไม่มีใครคอยเอาใจใส่
ประคบประหงมดูแล
มันจะได้กินน้ำก็ต่อเมื่อฝนตก
ไม่มีใครรดน้ำพรวนดิน
ยามพายุมามันก็ต้องเผชิญหน้า
กับลมฝนที่แสนโหดร้าย
ยามแดดจ้าต้องต่อสู้กับ
ความร้อนระอุ


อยู่มาวันหนึ่งคนสวนไม่อยู่
ตอนเช้าแดดร้อนแรง
พอบ่ายมากลับมีลมพายุ
ทั้งสองต้นต้องเผชิญกับ
ความรุนแรงของธรรมชาติ


ผู้อ่านคิดว่า..ต้นไหน
จะรอดจากภัยพิบัติ
ครั้งนี้?



ต้นแรกไม่เคย..โดนแดด
โดนฝน เพราะถูกดูแล
เหมือนไข่ในหิน
ต้นที่สองผ่านความโหดร้าย
มาด้วยตัวมันเอง


ลองคิดดูสิ  ต้นไหนจะรอดตาย



คนเราก็เหมือนต้นดอกไม้
บางถูกพ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี
ไม่เคยได้ทำอะไรด้วยตนเอง
วันๆมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว
แม้แต่วันหยุดก็ต้องไปเรียนพิเศษ
ไม่เคยไปโรงเรียนเอง ไม่เคยทำกับข้าวกินเอง
ไม่เคยซักผ้าเอง ทุกสิ่งทุกอย่างสะดวกสบายไปหมด
จนทำให้กลัว..ความลำบาก
พอเผชิญหน้าความลำบากกับปัญหาหนักๆ 
เช่น สอบตก เกรดต่ำ ไม่รู้จะแก้ไขยังไง 
คิดอะไรไม่ออกเพราะไม่เคยเจอความลำบาก
เอะอะอะไรก็จะฆ่าตัวตาย
ตามที่เป็นข่าวที่เห็นกันบ่อยๆ


ต่างจากคนที่ครอบครัวให้ใช้ชีวิตเรียนรู้ทำอะไรด้วยตนเอง
 หัดแก้ปัญหา หัดเรียนรู้ความลำบาก
  เมื่อเจอเรื่องราวที่โหดร้ายเกิดขึ้น
มากมายจนชินชา  เมื่อเจอมันอีกครั้ง
เขาจะตั้งรับมันได้ทันและบอกกับตัวเองว่า"แค่นี้จิบๆ"
หนักกว่านี้ยังผ่านมาแล้ว



อย่าติดความสบายมากเกินไปเดี๋ยวจะอ่อนแอ
ลองลำบากดูบ้างมันอาจจะทำ
ให้แข็งแกร่งขึ้น 


#อย่ากลัวความลำบาก  เพราะมันคือ
ยาวิตามินเสริม...ความเข้มแข็


เปื้อนฝุ่น

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิถีสามเณรน้อย





เด็กน้อยอายุไม่ถึงสิบขวบ  อำลาจากอ้อมกอดพ่อแม่มุ่งหน้าสู่ร่มเงาของพระบวรพุทธศาสนา  สลัดเสื้อผ้า  เปลียนมาห่มผ้ากาสาวพัสตร์  รับไตรสรณคมน์และศีลสิบ กลายมาเป็นสามเณร 

สามเณร เหล่าก่อแห่งสมณะ คือผู้ที่อายุยังน้อยไม่สามารถอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้  คนที่จะบวชเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าเจ็ดปีพอช่วยเหลือตัวเอง 

พอบวชแล้วต้องรักษาศีลสิบ ทำกิจวัตรให้ครบถ้วนสมบูรณ์  เล่าเรียนคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนักธรรมและบาลี ตามสมควรของสติปัญญา

ในปัจจุบันมีสามเณรมากมายนิยมบวชเรียน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและช่วยเเบ่งเบาภาระทางครอบครัวไปด้วย 



บทความนี้ผู้เขียนขอเสนอวิถีของสามเณรน้อยของวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี สามเณรที่เรียนทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป ในวัดแห่งนี้มีสามเณรประมาณ สามสิบกว่ารูปอายุแตกต่างกันไปตามลำดับตั้งแต่เเปด เก้าขวบ จนถึง ยี่สิบปี ในมุมของสามเณรผู้ใหญ่ผู้เขียนไม่ขอพูดถึง  แต่ที่สนใจก็คือสามเณรตัวเล็กๆ



เด็กอายุเเปดเก้าขวบ จากพ่อแม่มาอยู่วัด ถ้าใจไม่เเข็งพอก็คงอยู่ไม่ได้ เพราะในวัดนั้นต้องมีกิจวัตรมากมายที่ต้องทำ เช่น  ตื่นเช้าตั้งแต่ตีห้าไปบิณฑบาต หกโมงเช้าไปกวาดลานวัด เจ็ดโมงครึ่งไปทำวัตร แปดโมงถึงสามโมงเย็นไปเรียนทางโลก หกโมงเย็นถึงทุ่มหนึ่ง เรียนนักธรรม หนึ่งทุ่มถึงสองทุ่มเรียนพระบาลี หลังจากนั้นก็ต้องท่องหนังสือส่งจนดึกดืนกว่าจะได้นอน นี้คือวิถีชีวิตของสามเณรน้อยที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน


ผู้เขียนเคยถามว่า คิดถึงบ้านไหม คิดถึงสามเณรตอบ เลยถามต่อไปอีกว่า อยากกลับบ้านไหมคำตอบที่ได้เป็นไปอย่างไม่คาดคิด สามเณรน้อยตอบด้วยความมั่นใจว่า...ไม่อยากกลับ คิดถึงบ้านแต่ไม่อยากกลับ  สาเหตุนั้นเป็นเพราะอะไรไม่อาจล่วงรู้ได้ แต่สามเณร  ก็คือ เด็กคนหนึ่ง ย่อมมีดื้อมีชนบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

ในสมัยพุทธกาลมีสามเณรน้อยเช่นกัน อายุเเค่เจ็ดขวบบำเพ็ญสมณธรรมจนได้บรรลุพระอรหัตผล ชื่อว่า สามเณรบัณฑิต

สามเณรบัณทิตเกิดในตระกูลปัฎฐากของพระสารีบุตร เมื่ออายุเจ็ดขวบก็ได้บวชเป็นสามเณรโดยมีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่มาวันหนึ่งได้ออกบิณฑบาตกับพระสารีบุตร ได้เกิดความสงสัยเมื่อเห็นคนชักน้ำจากเหมืองจึงได้ถามพระเถระว่า  ''น้ำมีจิตใจหรือไม่''

''"น้ำไม่มีจิตใจ'' พระเถระตอบ  สามเณรจึงคิดว่า เมื่อคนสามารถชักน้ำซึ่งไม่มีจิตใจไปสู่ที่ที่ตนเองต้องการได้ แต่เหตุใดจึงไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้''

เดินต่อไปอีกสักพักก็เจอคนกำลังถากไม้จะทำเกวียนเลยถามพระเถระอีกว่า "ไม้นั้นมีจิตใจหรือไม่" พระเถระก็ตอบเหมือนเดิมว่า"ไม้ไม่มีจิตใจ"     คนสามารถนำเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิตใจมาทำเป็นล้อได้ แต่ทำไมไม่สามารถบังคับจิตใจได้ สามเณรคิดเมื่อได้ฟังคำตอบ

พอเดินไปอีกหน่อยก็เจอคนกำลังใช้ไฟดัดลูกธนู สามเณรก็เกิดความสงสัยอีกครั้งเลยถามพระเถระว่า "ลูกศรนั้นมีจิตใจหรือไม่" พระเถระตอบว่า "ลูกศรไม่มีจิตใจ" เมื่อได้ฟังคำตอบจากพระเถระจึงคิดว่า คนสามารถดัดลูกศรให้ตรงได้ แต่ไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได

 หลังจากนั้นสามเณรก็เกิดความคิดจะปฏิบัติสมณธรรมเลยขอพระเถระให้นำอาหารมาฝาก พระเถระรับปากและให้สามเณรบัณบัติไปปฏิธรรม ที่วัด

ขณะสามเณรปฏิบัติธรรมได้มีท้าวสักกะและท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาอารักขาทำให้วัดเกิดความสงบเลยทำให้จิตใจของสามเณรนั้นเเน่วเเน่จนบรรลุอนาคามิผล

 พระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ทุกอย่างด้วยพระญาณ จึงดำริว่าหากพระองค์ไม่เสด็จไปอารักขา สามเณรบัณฑิบจะไม่สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้จึงเสด็จไปอารักขาที่ซุ้มประตูวัด เมื่อพระสารีบุตรมาถึงตรัสถามปัญหา ๔ ข้อระหว่างที่พระพุทธเจ้าตรัสถามปัญหากับพระสารีบุตรนั้น สามเณรได้บำเพ็ญเพียรสมณธรรมและได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว

นี้คือสามเณรตัวอย่างในสมัยพุทธกาลอายุแค่เจ็ดขวบแต่ปฏิบัติสมณธรรมจนได้บรรลุพระอรหัตผล 

ในสมัยปัจจุบันถึงแม้จะไม่มีสามเณอรหันต์ปรากฎขึ้น แต่สามเณรน้อยเหล่านี้เมื่อพวกเขาตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถูกดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี  เมื่อเขาโตขึ้นถ้าไม่ลาสิกขา ก็จะได้เป็นกำลังหลักของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าลาสิกขาพวกเขาก็จะเป็นเยาวชนคนดีของสังคมสืบไป

วีถีของสามเณรน้อย  เหล่าก่อแห่งสมณะ ผู้จากบ้านมาเพื่อศึกษาเล่าเรียน หวังเป็นที่พึงและเเบ่งเบาภาระของครอบครัว อนาคตไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าทิศทางของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ก็ต้องรอดูตออนต่อไป

...เปื้อนฝุ่น









พระวัยรุ่น กับ วัตถุโบราณ



      ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัย หรือที่ผู้คนเรียกกันว่า  "ยุคโลกาภิวัตน์"


            เป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าในทาง ต่างๆเช่น อุตสาหกรรม  การค้าขาย การศึกษา  แม้กระทั่งสิ่งก่อสร้างต่างๆ  เราสามารถย่อโลกทั้งใบให้มาอยู่ในมือได้โดยง่ายๆเพียงแค่มี สมาร์ทโฟน สักเครื่องกับอินเตอร์เน็ต อยากรู้อะไร เรื่องอะไร แค่พิมพ์ลงไปใน Google เราก็จะได้รู้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

           ความเจริญต่างๆที่เกิดขึ้นใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีเสมอไป  และใช่  มันต้องมีข้อเสียด้วย เพราะทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ เช่น เฟซบุ๊ก ข้อดีของมันคือทำให้เราได้คุยกันโดยไม่ต้องโทร ได้พบเพื่อนเก่าๆ ส่วนข้อเสียของมัน  ถ้าเล่นไม่อยู่จักเวล้ำเวลา อาจทำให้เสียการ เสียงาน แม้กระทั่งเสียคนเลยก็ได้ในสมัยนี้ปฏิเสธที่จะใช้มันไม่ได้ แต่ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ มากกว่าใช้จนทำให้เกิดโทษ ทว่าก็ขึ้นอยู่กับคนที่ใช้มัน


       ทุกอย่างที่เจริญขึ้นย่อมมีที่มาที่ไปเหมือนกับประเทศของเรา กว่าจะมาเป็นประเทศไทยจนถึงขนาดนี้ บรรพบุรุษต้องเเรกด้วยเลือดเนื้อ ด้วยชีวิตไปมากมาย  ถึงเเม้ยุคนี้จะเจริญแล้ว เยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างพวกเราก็ควรศึกษาและ ระลึกถึงบุญคุณของวีรบุรุษทั้งหลายที่เสียสละ และควรช่วยกันรักษาสิ่งต่างๆที่ท่านสร้างไว้ เช่น โบราณสถาน สิ่งก่อสร้างเก่าๆที่ท่านทิ้งไว้ให้เป็นมรดกของแผ่นดิน


        พูดถึงโบราณสถาน สมัยนี้หายากนักที่จะมีวัยรุ่นสนใจเรื่องพวกนี้เพราะคิดว่ามันเชย ไม่ทันสมัย  มีท่านหนึ่งตามที่ผู้เขียนได้คลุกคลีกับท่านมานาน 3 -4 ปี  ท่านเป็นพระวัยรุ่นสมัยใหม่ อายุแค่ยี่สิบปีต้นๆ ที่หลงไหลเสน่ห์ของโบราณอย่างเต็มเปี่ยม  ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจเพื่อพัฒนาและรักษาโบราณสถานให้ เจริญและงดงามตามลำดับ  ท่านชื่อหลวงพี่อุดร ถิ่นกำเนิดท่านเกิดที่จังหวัดศรีสะเกษ แต่ย้ายมาจำพรรษาที่วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี 

       วัดแห่งนี้มีโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิแดง หรือที่เรียกว่า "กุฏิพระอริยวงศาจารย์ อายุ ๒๐๐ ปี โดยประมาณ และกุฏิธรรมระโต อายุ ร้อยกว่าปี จึงทำให้ท่านเริ่มสนใจเกี่ยวกับโบราณสถานเหล่านี้  อะไรเป็นแรงบันดาลใจทำให้ท่านรักและเอาใจใส่โบราณสถานเหล่านี้ทั้งๆที่ท่านก็ไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลย  ผู้เขียนเคยได้ยินท่านพูดหลายครั้งว่า " ต้องพัฒนาและรักษาไว้ในคนข้างหลังได้มาชม " ณ ปัจจุบันกุฏิแดงสวยสดงดงาม มีคนมาชมไม่ขาด มีคนรู้จักมากมาย นี้คือผลที่ท่านได้ทุ่มเทมาโดยตลอดเวลาที่ผ่านมา



...สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่โบราณสถานที่ท่านต้องรักษาแต่มันคือ..ชีวิต จิตวิญญาณ ของท่านต่างหากนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่เราเยาวชนคนรุ่นใหม่ ควรเอาเป็นแบบอย่าง ถึงแม้จะอยู่ในยุคที่เจริญแต่ก็ไม่ลืมของเก่าแก่ที่ บรรพบุรุษสร้างไว้ให้เป็นมรดกของชนรุ่นหลังอย่างพวกเรา  ดั่งสำนวนที่ว่า  ไม่หลงของใหม่ ไม่ลืมของเก่า
     
๏ชยวุฑโฒ







วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โลกแห่งความเป็นจริงกรรมฐาน โดย พระเทพวราจารย์( ศรีพร ปธ.๙ ph.D.)





บทที่ ๑

''ขวาย่างหนอ   ซ้ายย่างหนอ
ยกหนอ    เหยียบหนอ 
ยกหนอ    ย่างหนอ    เหยียบหนอ 
ยกส้นหนอ    ยกหนอ    ย่างหนอ    เหยียบหนอ



      เสียงภาวนาที่ก้องอยู่ภายในใจ     ที่เราต้องใช้สติกำหนดพิจารณารู้เท่าทันอารมณ์ เป็นอุบายวิธีที่สามารถ     สะกดความรู้สึกของบุคคลผู้ที่เข้าปฏิบัติให้มีความสงบระงับได้เพราะแต่ละอย่างนั้นต้องใช้สติเป็นตัวกำกับเมื่อใดก็ตามถ้าขาดสติ      เมื่อนั้นการพิจารณา จะขาดช่วงจนกระทั่งทำให้อาการเดินก็ดีหรือแม้แต่การนั่งก็ดีหรืออากัปกิริยาอื่นๆต้องมีอันโคลงเคลง

         แต่เมื่อใดก็ตามที่จิตนิ่ง นั่นย่อมหมายถึงว่าความสุขมันเกิดขึ้นเกิดจากภาวนาที่จิตสงบเย็น
ความสงบเย็นนี้แหละที่สังคมไฟหากันอย่างมากในยุคปัจจุบัน    เพราะความวุ่นวายสับสนที่เกิดขึ้นมีมากเหลือเกิน    มากจนกระทั่งจิตแพทย์ต้องทำงานหนักในการที่จะคลี่คลายปัญหา     รักษาโรคจิต    เพื่อต่ออายุให้กับชีวิตที่หมกมุ่นมัวเมา    ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องทุกเรื่องมันอยู่ที่ ตัวเราเท่านั้นเองแหละ   ที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้    แต่คนก็มองข้ามศักยภาพของตัวเองไป   หวังแต่พึ่งพาอาศัยคนอื่นจนกระทั่งลืมพึ่งพาอาศัยตนเอง



          ความมหัศจรรย์ของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าคือการให้มองที่ตนเองเป็นหลักมีคำกลอนที่ท่านผู้เป็นปราชญ์ได้ประพันธ์ไว้น่าสนใจว่า


โลกภายนอก     กว้างไกล    ใคร  ใคร รู้

โลกภายใน   ลึกซึ้งอยู่   รู้บ้างไหม

จะมองโลก   ภายนอก   มองออกไป

จะมองโลก    ภายใน     ให้มองตน


       ทำอย่างไรเราจะมองที่ตัวเองให้แจ่มชัด    มองตัวออก    บอกตัวได้    ใช้ตัวเป็น     ความวุ่นวายของปัญหาทุกอย่าง     มันจึงถูกปรุงแต่งโดยการที่เรามองแต่ปัจจัยภายนอก       แล้วเราก็ปรุงแต่งให้วันเกิดอาการวิลิสมาหรา      ปรุงแต่งภาพ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนั้นตามแต่ใจปรารถนา    หากว่าปรุงภาพดีก็ดีไป    แต่ถ้าเป็นภาพที่ไม่ดีละ    มันก็ทำให้ใจเสีย   จิตใจของคุณโดยส่วนมาก    มักจะปรุงแต่งแต่เรื่องที่ไม่ดีงาม     เรื่องที่จะก่อให้เกิดประโยชน์นั้น    มักจะไม่ปรุงแต่งกัน

 
       กรรมฐาน จึงคือการมองตน     มองให้ ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้     อย่าปล่อยให้จิตมันฟ้งไปพยายามควบคุม       ควบคุมอายตนะภายใน      ควบคุมอายตนะภายนอก    ทำให้เป็นระบบเพราะมันมีทั้งศาสตร์และศิลป์    อยู่ในตัว     เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและน่าสนใจมาก    อยากให้คนมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสแม้จะด้วยระยะเวลาที่เล็กน้อยมันก็อิ่มเอมใจเหลือเกิน

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ยักษ์ใกล้ตัว

มียักษ์อยู่สามตัวที่แสนน่ากลัว
มันหลับไหลอยู่ในใจของปุถุชน
คนธรรมดาอย่างเราทุกคน

ยักษ์ตัวแรกชื่อ  ความอยาก
มีชื่อเป็นทางการว่า โลภะ
จะอ้วนกว่าทุกตัว
เพราะมันมีความอยากอยู่ตลอดเวลา
อยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน
และอยากมีมากกว่าคนอื่น
ไม่เคยรู้จัก''คำว่าพอ''

ตัวที่สองชื่อโทสะ  น่ากลัวกว่าบรรดา
เพื่อนของมัน ถ้าใครทำให้มันหงุดหงิด
หรือโกรธ เตรียมตัวรับแรงกระแทกได้เลย
ถ้าควมคุมมมันไม่ได้ เที่ยวทะเลาะตบตีกับ
คนไปเลื่อย บางทีเห็นคนเป็นผักเป็นปลา
ฆ่ากันได้ง่ายๆเลยแหละ ความเมตตาไม่เคยมี

ตัวสุดท้ายชื่อ โมหะ หลงงมงายไปทั่ว
ใครพูดอะไรก็เชื่อไปหมดไม่เคยไตร่ตรอง
ถึงความจริงใดๆ หูของมันมีน้ำหนักเบา
เวลามันหลงอะไรมากๆหน้ามืดตามั่วเลยเเหละ

ลองนึกดูสิว่าถ้ายักษ์สามตัวนี้ตื่นขึ้นมาพร้อมกัน
อนุภาพมันจะขนาดไหน เมื่อมันออกอาละวาด 
อาจทำลายชีวิตของคนอื่นไปได้ง่ายๆ
แม้แต่ชีวิตเราเองก็เช่นกัน

เราจะทำอย่างไรให้มันไม่ตื่นขึ้นมา
เราจะควมคุมมันอย่างไรเล่า

ต้องใช้โซ่วิเศษ ที่ชื่อว่า  สติสัมปชัญญะ
ควมคุมมันให้ได้ ผูกมันไว้ให้ดี
อย่าให้มันออกมาเที่ยวทำร้าย
ใครไปทั่ว

เอาสติกำหนดไว้ที่ลมหายใจเข้าออก
ในเวลาที่มันตื่นขึ้นมา  ใช้สัมปปัญญะ
คอยสอดแนมใจอยู่เสมอ

สติ  คือ  ความระลึกได้
ไม่เผลอให้มันตื่นขึ้น   
สัมปชัญญะ  คือ ความรู้ตัวอยู่เสมอ
ไม่หลงให้มันครอบงำ
จิตใจได้ง่ายๆ

ถ้าขาดสองอย่างนี้ในการควมคุม
ไม่ว่าจะเป็นใคร
รวยแค่ไหน
การศึกษาสูงเพียงใด
ก็เป็นยักษ์ได้เช่นกัน

สติมาปัญญาเกิด
สติเตลิดจะเกิดปัญหา

หาเรื่องใส่ตัว

...เปื้อนฝุ่น

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อกหัก หรือ เสียดาย




รัก คำสั้นๆ เมื่อได้รับจากคนบางคนแน่นอนล่ะ ต้องรู้สึกดีกันถ้วนหน้าทำให้คนที่ได้รับยิ้มมีความสุข เหมือนโลกใบนี้กำลังเป็นสีชมพู แต่หารู้ไม่ ว่า เมื่อยิ้มได้ ก็ร้องให้เป็น สุขได้ก็ทุกข์ได้  รวยได้ก็จนได้ ทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอนจริงๆ
เมื่อถึงเวลาต้องจาก คนเรามักจะไม่ยอมรับความจริง ได้แต่คิดหาเหตุผลว่าทำไม เพราะอะไร  แล้วก็ ร้องให้ฟูมฟาย ข้าวปลาไม่ยอมกิน คิดถึงแต่เรื่องราวในอดีตที่เคยทำร่วมกัน วันๆไม่ทำอะไร นอกจากทำร้ายร่างกายและจิตใจตัวเอง  ทำเหมือนกับโลกใบนี้มีคนแค่สองคน  อาการเหล่านี้หลายๆ คนบอกว่า เป็นอาการของคน อกหักจริงหรือ ?
อกหัก คือ การที่เรารู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป พอไปไม่ถึงฝันจึงทำให้เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ทำให้ชะงักไปในชั่วขณะ พูดอะไรไม่ออก รู้สึกวาบหวิวที่หน้าอกเหมือนกำลังนั่งรถไฟเหาะแล้วหายไปจากโลกนี้ภายในพริบตาเดียว
เสียดาย คือ การที่เรามานั่งคิดถึงแต่เรื่องราวในอดีต คิดถึงวันเวลาที่ผ่านมาแล้ว บางคนอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง กรีดแขน  พยายามฆ่าตัวตาย ต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนบางคน คิดในแง่ลบ เก็บตัวเงียบ จิตใจเป็นทุกข์ เพราะไม่ยอมรับความจริงเวลาที่ผิดหวังกับความรัก คุณมีความรู้สึกแบบไหน  ลองพิจารณาดูนะ ว่าจริงๆ แล้ว คุณ อกหัก หรือ แค่ เสียดาย


                                                                                                      # Alone

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นี่หรือคือ”ชีวิต”


                     คนเราเกิดมาไม่ว่าจะอยู่ในสถานะภาพไหนหรือชนชั้นใดเมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินชีวิตและมีจุดประสงค์ที่ต่างกันจะเห็นได้จากคนในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการดิ้นรนเพื่อจะแสวงหาหนทางที่จะไปสู่เป้าหมายที่ตนตั้งไว้โดยลืมนึกถึงชีวิตจิตใจความเป็นอยู่ของบุคคลรอบข้าง
  และเมื่อเกิดปัญหาต่างฝ่ายต่างไม่สนใจกันและกันทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบขาดหายไปสิ่งมีชีวิตที่กล่าวเรียกว่าตนนั้นคือสัตว์ประเสริฐเพราะมีจิตใจที่ฝึกฝนดีแล้วอีกทั้งยังยกระดับให้สูงขึ้นเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งปวงถ้าลองมองและพิจารณาสภาวะการณ์ในปัจจุบันขณะที่เป็นอยู่แล้วยังกล่าวอ้างว่าตนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐได้อีกหรือมีชายคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ผมเกิดมาในชีวิตผมรู้แค่2อย่างเท่านั้นคือ อย่างแรกคือวันเกิด อย่างที่สองคือวันที่ผมได้ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมทำไมถึงรู้อย่างที่สองได้?ที่รู้ได้ก็เพราะผมพยายามทำและเป็นอยู่ทุกวัน”
ทุกท่านคิดว่าความสมบูรณ์แบบที่สุดของชีวิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทำตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้เฉพาะตน
หรือว่าความสมบูรณ์แบบในชีวิตก็คือการสร้างความสมบูรณ์แบบให้กับสังคมตัวเราเท่านั้นคือผู้กำหนด
“ชีวิตเป็นของเรา”

ตระกูล พันธุ์มาตย

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ไม่เป็นไรนะ

ไม่เเปลกเลย
หากวันหนึ่ง...ตื่นมาพร้อมกับ
ความว่างเปล่า

วันที่สิ่งที่คิดไม่เป็น
อย่างที่คิด
สิ่งที่หวังไม่เป็นดั่งที่หวัง
ความฝันที่วาดไว้สูญสลายหายไป

ใจต้องเผชิญกับความเหน็บหนาวที่แสนปวดร้าว

ร่างกายที่ดูแข็งแรง
กับหมดเรี่ยวแรงลงทันใด

หัวใจค่อยๆเต้นช้าลง สายตาพร่ามัว
มองไม่เห็นจุดหมายปลายทาง

ความรู้สึกกระจัดกระจาย ขาดการควบคุม และ พังทลายลง
จนไม่เหลือชิ้นดี 

ในวันนั้นเธออาจนอนซมอยู่ในห้อง
ไม่อยากกินข้าว กินน้ำ ไม่อยากพบหน้าใคร

อยากอยู่คนเดียวเปิดเพลงเศร้าๆ
คลอเคล้ากับหยดน้ำตา

อารมณ์ถูกขังอยู่ในห้องเล็กๆที่มืดมิด

ลองดูสิ

ลองเปิดหน้าต่างดูสิ เปิดไปดูแสง
สว่างของโลกที่ยังกว้างใหญ่
มันไม่ได้แคบและมืดมิดเหมือนห้องนี้

ลองเปิดประตูดูสิ เปิดไปเจอคนที่เขารักเธอ
คือ พ่อ แม่ และเพื่อนที่แสนดี
เธอไม่ได้อยู่คนเดียวอย่างที่คิด

ลองก้าวเท้าออกจากห้องดูสิ
ออกไปสูดอากาศในยามเช้าๆ
มันอาจจะช่วยทำให้ใจเธอสดชื่นขึ้น

ช่วงเวลาที่แสนเจ็บปวด มันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายในขณะนี้

แต่มันจะกลายเป็นแค่ฝันร้าย
เมื่อเวลาผ่านเลยไป

โลกใบนี้ยังมีอะไรมากมาย
รอให้เราได้เรียนรู้

อย่าคิดว่าทั้งหมดของชีวิตจะจบลง
เพียงแค่บางสิ่งในชีวิตเราหายไป

บอกตัวเองเอาไว้....ไม่เป็นไร
แค่นี้เดี๋ยวมันจะผ่านไป

และเรื่องร้ายๆมันจะจางหายไป พร้อมกับกาลเวลา

ก้าวต่อไป ถ้าใจยังไม่หยุดเต้น

เปื้อนฝุ่น


อย่าหลงทาง เส้นเดิมๆ

ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเราหลงทางในที่ที่ไม่เคยไป
#ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเราสอบตกในเมื่อเราไม่อ่านหนังสือ
#ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าเราทำผิดพลาดในสิ่งที่ไม่เคยทำ
#ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าเราลื่นล้มในที่ที่เราไม่รู้ว่ามันลื่น
#ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าเราตกต้นไม้โดยการขึ้นไปแบบไม่ระวัง
#ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าเราเหยียบตะปูโดยที่มองไม่เห็น
#ไม่ใช่เรื่องแปลก
ถ้าเราผิดหวัง จากการคาดหวัง
#ไม่ใช่เรื่ิองแปลก
ถ้าเราโดยหลอกครั้งแรก ด้วยความเชื่อใจครั้งสุดท้าย
#แต่มันจะเเปลก
ถ้าเราปล่อยให้มันเกิดขึ้น
อีก ครั้งแล้วครั้งเล่า
ปล่อยใหตัวเองจ็บซ้ำๆ
โดยไม่ได้บทเรียนอะไรเลยจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
อย่าลืมเก็บเกี่ยวข้อคิดดีๆจากเรื่องราวที่เกิดขึ้น
เอาไว้สอนตัวเอง
ในเวลาที่เจอเรื่องเดิมๆ
#เรื่องบางเรื่องก็ไม่ควรเกิดซ้ำ บาทีการเจ็บครั้งเดียวก็เกินพอแล้ว
สำหรับใครบางคน
อย่าหลงทาง เส้นเดิมๆ

โพสต์แนะนำ

แล้วมันจะผ่านไปจริงๆ

                                สักวันหากคุณเจอ เรื่องราวร้ายๆ   ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  เรื่องที่คุณไม่สามารถ แก้ไขอะไรมันได้   ...