ลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง มีใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วสูง โดยเมื่อเทียบเคียงกับกุฏิหลังอื่นๆ ภายในวัด กุฏิหลังนี้จะมีหลังคาที่สูงที่สุด ตัวเรือนก่อผนังเป็นฝาไม้กระดานในแนวนอนตลอดตัวเรือน ขนาด ๓ ห้องมีการเจาะช่องหน้าต่างและประตู ตัวเรือนภายในการมีกั้นห้องด้วยฝาไม้กระดานเช่นกัน แบ่งออกเป็น ๓ ห้องโดยแต่ละห้องมีประตูทางเข้าภายใน ห้องละ ๑ ทาง ทั้งนี้ น่าสังเกตว่ากุฎิหลังนี้ไม่มีช่องระแนงหรือช่องลมมากนัก เมื่อเทียบเคียงกับหลังอื่นๆ โดยตัวเรือนของอาคารนี้ไม่มีการเจาะช่องระแนงหรือช่องลม ส่วนหน้าของตัวเรือนมีการทำชานยืนออกไปเป็นมุข ตัวชานมีการก่อระเบียงเจาะลูกกรงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยมีพื้นที่รับกับส่วนพื้นที่ตัวเรือนของอาคาร ส่วนชานยังมีการทำบันไดในแนวขนานติดกับชาน เพียง ๑ ทาง คล้ายคลึงกับกุฏิหลังอื่นๆเช่นกัน ที่ผนังชานกุฏิมีป้ายโลหะ เขียนชื่อด้วยตัวอักษรไทย จำนวน ๑ บรรทัด ความว่า “...กุฏิสุขวงษ์...”
จุดเด่นของอาคารหลังนี้อาจกล่าวได้ว่าคือการทำหลังคาทรงจั่วที่สูงกว่าอาคารกุฏิหลังอื่นๆ
จนกระทั่งทำให้ส่วนหลังคาของชานมุขมีมีความลาดแตกต่างกับส่วนหลังของตัวเรือนอย่างเด่นชัด
คล้ายกับว่าส่วนหลังคาเป็นคนละส่วนกัน
คุณพ่อกิ้มตุ้ม
ไสสมบัติ (แซ่โง้ว) ผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์
คุณยายสายบัว สุขวงษ์ (ไชยศิริ) ผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์
ร่วมกับสามี
กุฏิสุขวงษ์สร้างโดยคุณพ่อกิ้มตุ้ม ไสสมบัติ และภริยา คือ นางสายบัว สุขวงษ์ เป็นผู้สร้างกุฏิสุขวงษ์ เนื่องจากนามสกุลพ้องกัน และทั้งสองท่าน เป็นโยมคุ้มวัดมณีวนาราม ที่มีศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถวัดมณีวนารามโดยพบว่าทั้งสองมีรูปภาพหินอ่อนประดับไว้ภายในอุโบสถ ซึ่งนับเป็นหลักฐานสำคัญ ด้วยในอุโบสถมีเพียง หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช (ชุมพล) ผู้บริจาคทรัพย์อันดับ ๑ จำนวนเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท และ สองสามีภรรยาดังกล่าว เท่านั้น จากบรรดาเจ้าศรัทธากว่า ๘๗๑ ราย
ปัจจุบันกุฎิสุขวงษ์ เป็นสถานที่จัดแสดงภาพเก่าๆเกี่ยวกับวัดมณีวนาราม และเป็นสถานที่จัดแสดงภาพบูรพาจารย์ผู้มีคุณูปการต่อวัดมณีวนาราม
ภาพ: พระมหานิกร โสภโณ
ณัฐพงค์ มั่นคง[3], จิรวัฒน์ ตั้งจิตรเจริญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น